เพลิงไหม้..ในห้องครัว ภัยใกล้ตัว ที่คุณสามารถป้องกันได้

   เนื่องจากระบบดูดควันนั้นมีองค์ประกอบการติดไฟครบทั้งหมด คราบไอน้ำมันที่เข้าไปสะสมอยู่จำนวนมาก ความร้อนที่ใช้ในการประกอบอาหาร และออกซิเจนจากอากาศที่อยู่ในระบบดูดควัน จึงมีโอกาสเกิดเพลิงไหม้ได้ ซึ่งยากต่อการดับเพลิง เนื่องจากไฟจะลามเข้าไปในท่อเดินอากาศ เพื่อเป็นการลดความเสี่ยง จึงควรทำความสะอาดระบบดูดควันอย่างน้อยปีละ2ครั้งหรืออาจจะมากกว่า ทั้งนี้ขึ้นกับระยะเวลาในการใช้งาน

เชื้อเพลิง

  ไม่ผิดรูปหรอกครับ ไม่ว่าจะไขมัน หรือไอน้ำมัน เมื่ออยู่ในระบบดูดควันก็สามารถเป็น"เชื้อเพลิง"ได้ทั้งสิ้นการเกิดเพลิงไหม้นั้น จะต้องถึงพร้อมด้วย3องค์ประกอบ คือ

1.ความเข้มข้นของออกซิเจน (Oxygen)

2.อุณหภูมิถึงจุดติดไฟ (Heat)

3.ความเข้มข้นของเชื้อเพลิง (Fuel)

Duct หรือปล่องควัน

  เป็นอีกส่วนหนึ่งในระบบดูดควันที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นช่องทางที่ใช้ลำเลียงควันและไอน้ำมันจากการประกอบอาหารออกสู่ภายนอกของร้าน ตามมาตรฐานNFPAแล้วท่อDuctจะต้องติดตั้งแบบระบบปิดและวัสดุที่ใช้ทำท่อDuctของระบบดูดควันนั้นจะมีความแข็งแรงมากพอ ที่คนสามารถเข้าไปได้ รวมไปถึงพื้นที่ติดตั้งท่อDuctจะต้องมีพื้นที่มากพอที่จะสามารถเข้าไปซ่อมแซมได้

ฝาชีหรือกระโจม

  หรือที่เรียกติดปากกันว่า"Hood"นั้น เป็นชิ้นส่วนแรกของระบบดูดควันที่สามารถเห็นได้ง่าย ตัวกระโจมนั้นจะมีส่วนประกอบอยู่อีกหลายส่วน เช่น Duct, Filter, รางน้ำมัน, หลอดไฟ เป็นต้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องแข็งแรงในระดับหนึ่ง เพราะเมื่อมีอายุการใช้งานที่มากขึ้น อาจเกิดการบิดงอผิดรูป จนไม่สามารถใส่Filterได้ หรืออาจจะล่วงหล่นลงมาโดนผู้ประกอบอาหารเองก็เป็นได้